วันศุกร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ผักพื้นบ้าน


กะเพรา เป็นไม้พุ่มเล็ก ใบมีกลิ่นฉุน ออกดอกเป็นช่อ เป็นผักสวนครัว ปลูกง่าย เป็นเครื่องเทศ มีรสเผ็ดร้อน
ส่วนที่ใช้ ใบสด ใบแห้ง ราก และเมล็ด
สรรพคุณและวิธีใช้ ใบ เป็นยาขับลม บำรุงธาตุ แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้คลื่นไส้ อาเจียน ขับเหงื่อ และขับน้ำนมสำหรับหญิงแม่ลูกอ่อน ช่วยรักษาแผลในกะเพาะอาหาร ช่วยอาการหอบหืด ช่วยลดน้ำตาลในเลือด โรคหอบหืด ดื่มน้ำใบกะเพราจะหายใจสะดวกขึ้น ราก แก้ธาตุพิการ เมล็ด ขับลม แก้ท้องอืดเฟ้อ
คุณค่าทางโภชนาการ คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก มีเบต้าแคโรทีนสูง วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง และวิตามินบีสอง


กระถิน เป็นไม้พุ่มยืนต้น ขึ้นง่าย มักนิยมปลูกไว้ทำรั้ว แม้ไม่ดูแลรักษาก็เจริญเติบโตได้ มีในทุกภาคของประเทศ
รสชาติของผัก ยอดและใบอ่อน รสมัน เมล็ดอ่อน รสมันอมหวาน
วิธีปรุงอาหาร ยอดอ่อน ใบอ่อน เมล็ดอ่อน กินเป็นผักสดร่วมกับน้ำพริกหรือแกงที่รสจัด
ประโยชน์ทางยา ฝัก กระถินเป็นยาฝาดสมาน เมล็ด เป็นยาถ่ายพยาธิ ราก ใช้ปรุงเป็นยาอายุวัฒนะ ขับลมและขับระดูขาว ยอดอ่อน ดอกอ่อน ฝักอ่อน บำรุงตับ
คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีัสอง ไนอาซิน วิตามินซี


ข่า เป็นไม้ล้มลุกที่มีอายุยืนนานหลายปี เป็นพืชที่ปลูกง่าย เจริญเติบโตได้ดีใต้ร่มเงาไม้ใหญ่ ขึ้นได้ดีในที่ดอนที่มีความอุดมสมบูรณ์ ชุ่มชื้น และไม่มีน้ำขังศัตรูพืชไม่รบกวน
รสชาติของผัก เหง้าอ่อน รสเผ็ด
วิธีปรุงอาหาร เป็นส่วนประกอบสำคัญในอาหารประเภทต้มยำ แกงต่าง ๆ เหง้าอ่อน ต้นอ่อนและดอกอ่อนกินเป็นผักสดหรือลวกจิ้มน้ำพริก
ประโยชน์ทางยา เหง้าแก่ (สดและแห้ง) ช่วยขับลม รักษาโรคกลาก เกลื้อน ใบอ่อน หน่ออ่อน เหง้า แก้ปวดเมื่อยตามข้อและเนื้อตัว ช่วยย่อยอาหาร บำรุงธาตุ รักษาบิด ปวดท้อง ขับเลือดลมให้เดินสะดวก
คุณค่าทางโภชนาการ พลังงาน เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก เบต้าแคโรทีน วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสองไนอาซิน วิตามินซี


ตำลึง เป็นไม้เถาล้มลุก พบขึ้นทั่วไปบริเวณริมรั้วที่รกร้างตามสวน ไร่ ปลูกง่าย ไม่ต้องดูแลมากนัก แต่ถ้าปลูกโดยทำค้างให้ โดยไม่อาศัยต้นไม้อื่นให้เลื้อย ตำลึงจะไม่ค่อยงาม และมีแมลงรบกวน ไม่เหมือนกับปลูกตามธรรมชาติ ซึ่งจะเจริญเติบโตดีกว่า
รสชาติของผัก ยอดอ่อนและใบอ่อน มีรสเย็น
วิธีปรุงอาหาร ลวกจิ้มน้ำพริก ผัดน้ำมัน แกงจืด แกงเลียง ใส่ก๋วยเตี๋ยว หรือยำผักตำลึง
ประโยชน์ทางยา ใบ ดับพิษร้อน แก้เจ็บตา ตาแดง และตาแฉะ ทั้งต้น แก้โรคผิวหนัง ลดน้ำตาลในเลือด
คุณค่าทางโภชนาการ วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินบีหนึ่ง วิตาิมินบีสอง ไนอาซิน โปรตีน คาร์โบไฮเดรต และไขมัน
หมายเหตุ ใบและเถาของตำลึงมีรสเย็น จึงเป็นผักที่เหมาะในการกินช่วงฤดูร้อน


เตยหอม เป็นไม้ยืนต้นพุ่มเล็ก ขึ้นเป็นกอ ลำต้นอยู่ใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ค่อนข้างแข็งเป็นมัน มีกลิ่นหอม
ส่วนที่ใช้ ใบ
สรรพคุณและวิธีใช้ ใบเตยสด เป็นยาบำรุงหัวใจให้ชุ่มชื่น ต้มน้ำทาแก้หวัด แก้ไอ ดับพิษไข้และชูกำลัง ราก เป็นยาขับปัสสาวะ ใช้รักษาเบาหวาน โรคตับ และไตอักเสบ
คุณค่าทางโภชนาการ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต เส้นใย แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก



แตงกวา เป็นผักที่มีน้ำมาก เป็นพืชเศรษฐกิจที่ปลูกง่าย โดยการหยอดเมล็ด รดน้ำ 2 - 3 เดือน ก็ได้กินผล กินได้ทั้งผลเปลือกและ เมล็ด
ส่วนที่ใช้ ผลและเมล็ดอ่อน
สรรพคุณและวิธีใช้ ผลและเมล็ดอ่อน มีวิตามินบีหนึ่ง มีสรรพคุณ ฝาดสมาน เสริมการทำงานของระบบประสาท ช่วยความจำ ลดอาการนอนไม่หลับแก้กระหายน้ำ มีฤทธิ์ต้านมะเร็ง ขับปัสสาวะ ทำให้ผิวขาวใสและนุ่มนวล ช่วยบำรุงผมและเล็บ และแนะนำให้ผู้ป่วยโรคเกาต์และบวมน้ำดื่มเป็นประจำ ป้องกันการเกิดโรคหัวใจ ใบและเมล็ดแก่ ใช้เป็นยาขับพยาธิ เถา ช่วยลดความดันเลือด ใบ แ้ก้ท้องเสีย บิด
คุณค่าทางโภชนาการ คาร์โบไฮเดรต เส้นใย โปรตีน แคลเซียม ฟอสฟอรัส เหล็ก วิตามินเอ วิตามินบีหนึ่ง วิตามินบีสอง ไนอาซิน วิตามินซี มีเบต้า - แคโรทีนและกรดแอมิโนหลายชนิด


ถั่วงอก เป็นผักที่น่าปลูกกินเองที่สุด เพราะใช้เวลาสั้นเพียง 3 - 8 วัน ในการปลูก รสชาติอร่อย กรุบกรอบ สดชื่น
ส่วนที่ใช้ ต้นกล้าอ่อน
สรรพคุณและวิธีใช้ มีแคลอรี่ต่ำ มีวิตามินสูง และเส้นใยทำให้ช่วยป้องกันมะเร็งโรคหัวใจและโรคติดเชื้อ และป้องกันการเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่และทวารหนัก
คุณค่าทางโภชนาการ โปรตีน วิตามินบี วิตามินซี เส้นใยอาหาร

ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลและภาพ....http://ayutthaya.doae.go.th/uthai/samunpai/pakpueanban.htm#teay

พืชสมุนไพร


กระชาย
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Boesenbergia rotunda (L.) Mansf.
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่ออื่น : กะแอน จี๊ปู ซีฟู เปาซอเร๊าะ เป๊าสี่ระแอน ว่านพระอาทิตย์
ลักษณะ : เป็นไม้ล้มลุกไม่มีลำต้นบนดิน มีเหง้าใต้ดินซึ่งแตกรากออกไปเป็นกระจุกจำนวนมาก อวบน้ำ ตรงกลาลพองกว้างกว่าส่วนหัวและท้าย ใบ เดี่ยว เรียงสลับเป็นระนาบเดียวกัน รูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 4.5-10 เซนติเมตร ยาว 13-15 เซนติเมตร ตรงกลางด้านในของก้านใบมีร่องลึก ดอก ช่อ ออกแทรกอยู่ระหว่างกาบใบที่โคนต้น กลีบดอกสีขาวหรือชมพูอ่อน ใบประดับรูปใบหอกสีม่วงแดง ดอกย่อยบานครั้งละ 1 ดอก
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้เหง้าแก้โรคในปากเช่นปากเปื่อย ปากเป็นแผล ปากแห้ง ขับระดูขาว ขับปัสสาวะ รักษาโรคบิด แก้ปวดมวนท้อง จากการทดลองในสารสกัดแอลกอฮอล์และคลอโรฟอร์ม พบว่ามีฤทธิ์ต้านเชื้อราที่ทำให้เกิดโรคผิวหนังและในปากได้ดีพอควร

กระเทียม
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Allium sativum L.
วงศ์ : Alliaceae
ชื่อสามัญ : Common Garlic , Allium ,Garlic ,
ชื่ออื่น : กระเทียม (ภาคกลาง) หอมเทียม (ภาคเหนือ) หอมขาว (ภาคอีสาน) เทียม, หอมเทียม (ภาคใต้)
ลักษณะ : ไม่พุ่ม สูง 2-4 เมตร กิ่งอ่อนมีหนาม ใบประกอบชนิดมีใบย่อยใบเดียว เรียงสลับ รูปไข่ รูปวงรีหรือรูปไข่แกมขอบขนานกว้าง 3-5 ซม. ยาว 4-8 ซม. เนื้อใบมีจุดน้ำมันกระจาย ก้านใบมีครีบเล็ก ๆ ดอกเดี่ยวหรือช่อ ออกที่ปลายกิ่งและที่ซอกใบ กลีบดอกสีขาว กลิ่นหอม ร่วงง่าย ผลเป็นผลสด กลมเกลี้ยง ฉ่ำน้ำ
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้น้ำมะนาวและผลดองแห้งเป็นยาขับเสมหะแก้ไอ แก้โรคเลือดออกตามไรฟัน เพราะมีวิตามินซี น้ำมะนาวเป็นกระสายยาสำหรับสมุนไพรที่ใช้ขับเสมหะเช่นดีปลี

กระวาน
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Amomum krervanh Pierre
วงศ์ : Zingiberaceae
ชื่อสามัญ : Siam Cardamom, Camphor Seed
ชื่ออื่น : กระวานดำ กระวานแดง กระวานขาว (ภาคกลาง, ภาคตะวันออก) กระวานจันทร์ กระวานโพธิสัตว์
ลักษณะ : ไม้ล้มลุกสูง 1-3 เมตร ขึ้นในป่าชื้น บริเวณไหล่เขาสูง มีเหง้าใต้ดิน ใบเดี่ยว เรียงสลับ รูปขอบขนาน กว้าง 8-15 ซม. ยาว 40-50 ซม. ไม่มีก้านใบ ดอกช่อแทงจากเหง้า กลีบดอกสีขาว เป็นหลอดและพองเป็นกระเปาะ ออกดอกเมื่อต้นอายุ 2-3 ปี ผลกลมเกลี้ยง ขนาด 6-15 มม. เมื่อแก่เปลือกผลจะแห้งและแข็ง เมล็ดขนาดเล็ก 12-18 เมล็ด รวมกลุ่มเป็น 3 กลุ่ม โดยมีเยื่อบาง ๆ กั้น มีกลิ่นหอมและรสเผ็ด
ประโยชน์ทางสมุนไพร : ตำรายาไทยใช้ผลเป็นยาขับลม รักษาโรคท้องอืดเฟ้อแน่นจุกเสียด โดยใช้ขนาด 1-2 กรัม ชงน้ำดื่มและใช้เป็นเครื่องเทศแต่งกลิ่นอาหาร

วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัตว์ป่าสงวนของไทย


ลักษณะเด่น
นกแต้วแล้วทองดำ
ลักษณะสีสันของเพศผู้ และเพศเมียจะแตกต่างกัน โดยนกกระแต้วแล้วเพศผู้ บริเวณหัวและท้ายทอยจะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าสีสดใส ตัดกับใบหน้าและหน้าผาก ซึ่งมีสีดำสนิท คอสีขาวครีมอกส่วนบนเป็นแถบสีเหลืองสด อกส่วนล่างจะมีสีดำเป็นมัน ท้องและก้นสีดำ สีข้างและข้างลำตัวเป็นสีเหลือง และมีลายสีดำสั้นๆ คาดเป็นบั้งๆ ตลอดแนวลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง ปีกเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าลำตัวเล็กน้อย หางและขนคลุมทางด้านบนเป็นสีฟ้าอมเขียวราวกับสีของเครื่องะดับประเภทหยก กลางหางเป็นสีดำเรียบๆ ขาเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปากเป็นสีดำ ส่วนนกแต้วแล้วเพศเมีย ลักษณะเด่นก็คือ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหัว ตา หลังตา และขนคลุมหูสีดำ คอสีเหลืองครีม บริเวณส่วนล่างของลำตัวมีสีขาวอมเหลืองและมีลายสีดำสั้นๆ คาดตามขวางของ ลำตัว ส่วนหาง ด้านบนของลำตัว ปีกและส่วนอื่นๆ คล้ายเพศผู้ แต่เพศเมียแต่เพศเมียจะมีขนาดย่อมกว่าเพศผู้เล็กน้อยโดยทั่วไปนกกระแต้วแล้วท้อวดำมีขนาดความยาวประมาณ 22 ซ.ม. เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้อนป้อม หัวโต ขาแข็งแรง หางสั้น เวลาหากินชอบกระโดอยู่ตามพื้นป่า และ ส่งเสียงร้องไปด้วย
การกระจายพันธ์
นกกระแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่มีเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7-12 เหนือ พบได้ทางตอนไต้สุดของพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี ในประเทศไทยเคยพบบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดตรัง
อุปนิสัยและการสืบพัธุ์
นกกระแต้วแล้วท้องดำชอบอาศัยอยู่ตามป่าซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ชอบอยู่ตามลำพังไม่รวมกลุ่ม เดินและกระโดดหากินอยู่บนพื้นดินการทำรังวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน นกกระแต้วแล้วท้องดำล้วนสร้างรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมโดยรังสูงจากพื้นดินประมาณ 1-2.5 เมตร ลักษณะของตัวรัง มีรูปร่างกลมป้านคล้ายลูกบอลขนาดย่อมๆมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตัวรังสร้างจากเศษใบไม้แห้งและกิ่งไม้เล็กๆ โดยภายในรังบุด้วยรากไม้เล็กๆ หรือเส้นใยนุ่มๆ จากใบไม้ ส่วนภายนอกมีหนามจากต้นไม้ที่มันทำรังเป็นเกราะคุ้มภัยอีกชั้นหนึ่ง ต้นไม้ที่พบว่านกแต้วแล้วท้องดำใช้ทำรัง ได้แก่ ต้นระกำ กอหวาย หรือต้นชิง ซึ่งขึ้นริมลำธารเล็กๆ ทำให้เป็นการสะดวกที่พ่อแม่นกจะหาอาหารมาเลี้ยงลูก การวางไข่ของนกแต้วแล้วท้องดำวางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 ฟอง ไข่มีละกษณะสีขาวนวล แต้มด้วยจุดสีน้ำตาลเล็กๆ โดยทั่วไปนกแต้วแล้วท้องดำจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ระยะของการกกไข่ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่าง 10-14 วัน โดยทั้งพ่อและแม่ช่วยกันกกไข่ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัว พ่อแม่นกจะทำลายเปลือกไข่โดยกินเสียทั้งหมด เพื่อเป็นการอำพรางศัตรู เพียงหนึ่งสัปดาห์ลูกนกเริ่มมีขนเป็นเส้นกลมๆ สีเทาดำอยู่ทั่วทั้งตัว เมื่ออายุได้ 14 วัน ขนจะขึ้นเต็มตัว จากการศึกษาพบว่าลูกนกจะออกจากรังเมื่ออายุประมาณ 15-16 วัน
อาหารของนกกระแต้วแล้วท้องดำ ได้แก่ ไส้เดือนตัวอ่อนของแมลง แมลงต่างๆ หอยทาก กบ ปลวก เป็นต้น นกแต้วแล้วท้องดำมีอุปนิสัยชอบทำรังใกล้ลำธารที่มีดินอ่อนนุ่ม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหาอาหารและอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณที่ดอน นกแต้วท้องดำจะกระโดดอย่างคล่องแคล่วไปตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหรือพริกใบไม้เพื่อหาอาหาร หรือใช้ปากขุดเพื่อหาไส้เดือน โดยจิกคาบเหยื่อใหม่พร้อมเหยื่อเก่าไว้ในปากจนกระทั่งเต็มปาก จึงจะนำกลับมาป้อนให้ลูกont>
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
เนื่องจากนกแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่หายาก และเป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นจึงทำให้นักนิยมเลี้ยงนกอยากได้ไว้มาครอบครอง และทำให้ราคานกแต้วแล้วท้องดำพุ่งสูงขึ้น ยิ่งราคาแพงก็ยิ่งมีผู้เสาะแสวงหามาไว้ครอบครอง เพราะว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีสีสันสวยงาม นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า เพราะว่าระบบนิเวศของนกแต้วแล้วท้องดำ เป็นป่าดงดิบต่ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานเกษตร เช่น สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา เพราะสภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้เกิดการแผ้วถางยึดถือครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเกิดขึ้นอย่างกว้าขวางนอกจากนั้นโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน หรือพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองของมนุษย์ ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการทำให้นกอยู่ในภาวะล่อแหลมใกล้สูญพันธุ์แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็มีศัตรูในธรรมชาติ เช่น งู หนู หรือสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ
นกเจ้าฟ้าสิรินธร

ประวัติความเป็นมา
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกในวงศ์นกนางแอ่นชนิดใหม่ล่าสุดของโลก และเป็นนกชนิดแรกที่ค้นพบใหม่โดยคนไทย ทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบและจำแนกตัวอย่างต้นแบบโดยคนไทยและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดยคนไทย โดยได้อันเชิญพระนามของเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเทพรัตนสุดา ( พระยศในขณะนั้น ) มาตั้งเป็นชื่อชนิดของนกที่พบใหม่นี้คือ “ Sirintarae ”
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรถูกพบครั้งแรกโดย คุณกิตติ ทองลงยา นักวิทยาศาสตร์ไทย ตำแหน่งภัณฑารักษ์ สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก ศูนย์รวมวัสดุอุเทศแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2511 โดยได้นกตัวอย่างแรกนี้ปะปนมากับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่ชาวบ้านจับมาขายจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในครั้งนั้นสามารถเก็บรวบรวมนกจากแหล่งเดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ได้นกตัวอย่างต้นแบบในการศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมดรวม 10 ตัว ภายหลังจากการถูกค้นพบแล้ว มีรายงานพบนกที่ถูกจับมาขายอีก 2 ครั้ง ต่อมาในปี 2515 ได้พบนกจำนวน 2 ตัว และครั้งสุดท้ายพบเพียง 1 ตัวในปี 2521 นับจากนั้นยังไม่มีรายงานการพบเห็นอย่างเป็นทางการหรือถูกดักจับได้อีกจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะเด่น
ลักษณะทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรต่างไปจากนกนางแอ่นทั่ว ๆ ไป แต่มีรูปร่างคล้ายและจำแนกอยู่ร่วมสกุลเดียวกับนกนางแอ่นเทียมคองโก ( pseudochelidon eurystomina ) ซึ่งเป็นนกนางแอ่นที่มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำคองโก ประเทศซาอีร์ ตอนกลางของทวีปแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น ส่วนลักษณะที่แตกต่างกันเด่นชัด ได้แก่ สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีดำออกเหลืองเขียวหรือน้ำเงินเข้มบริเวณหน้า ผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขอบตาขาว ตา และม่านตาเป็นสีขาว มีสีชมพูเรื่อ ๆ เป็นวงในม่านตา แข้งและขาสีชมพู บริเวณสะโพกสีขาว ขนหางสั้นมนกลม ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาคล้ายหางบ่วงเห็นชัดเจน และขนบริเวณใต้คอเป็นสีน้ำตาลอมดำ
ขนาดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร วัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 เซนติเมตร จัดเป็นนกนางแอ่นขนาดใหญ่ และจากลักษณะที่มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูคล้ายตาโปนพองออกมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า “ นกตะพอง ”
การกระจายพันธ์
มีรายงานว่าการพบตัวเพียงแห่งเดียวที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษจิกายน – มีนาคม จัดเป็นนกเฉพาะถิ่น 1 ใน 2 ชนิดของไทย
อุปนิสัยและการสืบพันธ์
นิสัยทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค่อนข้าง เชื่องไม่ปราดเปรียว และชอบชอบเกาะนิ่งอยู่กับพื้นซึ่งแตกต่างกับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ในช่วงฤดูหนาวมักพบเห็นอยู่ปะปนกับฝูงนกนางแอ่นบ้าน นกกระจาบและนกกระจาบปีกอ่อนตมพงอ้อและดงต้นสนุ่นตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ไม่มีรายงานการพบเห็นหรือจับตัวได้ในช่วงฤดูร้อน จึงคาดว่านกฟ้าหญิงสิรินธรจะอพยพมาหากินตามแหล่งน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งในช่วงฤดูหนาว ทำให้ถูกดักจับด้วยตาข่ายได้เนือง ๆ จากหลักฐานข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ว่า นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกเฉพาะถิ่นของบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาว
การจับคู่ผสมพันธ์และทำรังวางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ไม่ทราบแน่นอน แต่ทราบว่าน่าจะคล้ายกับนกนางแอ่นเทียมคองโกของแอฟริกา ซึ่งมีการจับคู่ผสมพันธุ์และทำรังวางไขาในช่วงฤดูร้อน โดยจะทำรังไข่โดยการขุดรูตามพื้นหาดทราย หรือหาดทรายบนเกาะกลางน้ำ ซึ่งมีพบอยู่มากทางตอนเหนือของบึงบรเพ็ดขนากของรุรังลึก 1-2 เมตร วางไข่ชุดละ 2-3 ใบ
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
ภายหลังจากที่ไม่มีการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรใน บึงบอระเพ็ดมาเป็นเวลา 15 ปีทำให้เชื่อว่า นกชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากบึงบอระเพ็ด ซึ่งหมายถึงสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลกไปแล้วหรืออาจจะยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็น้อยมาก ทั้งนี้มีสาเหตุมารจากนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย แล้วยังถูกล่าหรือถูกดักจับไปพร้อมนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ประกอบกับแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลายไปโดยการประมงและการเปลี่ยนแปลงของหนองบึงเป็นนาข้าวหรือทุ่ง เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการควบคุมน้ำในบึเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการอยู่รอดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นอย่างยิ่ง
เก้งหม้อ

ประวัติความเป็นมา
เก้งหม้อค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดย Leonardo Fea เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานเมือง เจนัว ประเทศอิตาลี เป็นซากเก้งที่ได้จากแถบ Thagata Juva ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเทือกเขา Mulaiyit ในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า จึงได้ส่งตัวอย่างเก้งนี้ให้นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน จากผลการตรวจสอบพบว่ามีลักษณะต่างจากเก้งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Cervurus feae Thomas and Doria 1989
ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 Healtenorht ได้มีการตรวจสอบพบว่าชื่อสกุล Cerverus ตั้งชื่อซ้ำกับสกุล Muntiacus Rafinesque 1815 ซึ่งได้แพร่หลายกันมาก่อน จึงเสนอให้เปลี่ยนมาเป็น Muntiacus feae ( Thomas and Diria 1989 )
เก้งหม้อจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวางแท้ เนื่องจากมีกีบเท้าเป็นคู่ เท่าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว กระเพราะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจากส่วนกระเพาะพักที่ย่อยไม่ละเอียด ขึ้นมาเคี้ยวใช่องปากให้ละเอียดได้อีก ลักษณะเขาเก้งหม้อและเขาชนิดอื่น ต่างจากกวางส่วนใหญ่ซึ่งจัดอยู่ในสกุล Cervus จึงถูกแยกออกไปรวมไว้ในสกุล Muntiacus โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะ คือ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเล็กสั้น แต่ฐานเขา ( Pedicel ) ยาวมาก ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน กระดูกดั้งจมูกยกเป็นสันสูง จมูกของเก้งจึงเห็นนูนเป็นสันขึ้นมา ไม่เรียบอย่างจมูกกวางทั่ว ๆ ไป
ลักษณะเด่น
รูปร่างลักษณะทั่วไปของเก้งหม้อคล้ายกับฟานหรือเก้งธรรมดา ( Common Barking Deer , Muntiacus muntjak ) มีขนาดตัวไล่เลี่ยกัน ขนาดตามตัวสั้นเกรียนและละเอียดนุ่ม ดั้งจมูกเป็นสันยาว มีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ขอบแอ่งเป็นสันยกสูงอยู่บริเวณหัวตา ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน ใช้เป็นอาวุธต่อสู้ป้องกันตัวเองได้ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเขาสั้น แต่ฐานยาวมากและมีขนหุ้มเต็มด้วย ช่วงโคนของฐานเขาแต่ละข้างจะยาวทอดเห็นเป็นรูปสันนูนลงไปตามความยาวของใบหน้า
ลักษณะเด่นเฉพาะเก้งหม้อ รูปร่างของเขาเก้งฟานคือ เป็นเขาสั้น ๆ มี 2 กิ่ง กิ่งหน้าสั้น กึ่งหลังยาว แต่โดยเฉลี่ยแล้วเขามีขนาดเล็กและสั้นกว่า ลักษณะเขามีกิ่งหน้าหรือกิ่งรับหมาแตกไปข้างหน้าเป็นกิ่งสั่น ๆ ดูคล้ายกับเป็นกิ่งแขนงของลำเขา ซึ่งยาวกว่าและแตกไปด้านหลัง บริเวณหน้าผากระหว่างสันของของฐานขาทั้งคู่จะมีพู่ขนเป็นกระจุยยาวสีดำตล้ำ นอกจากนี้สีขนตามตัว ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญเฉพาะของเก้งหม้อและแตกต่างไปจากเก้งฟานเด่นชัด
ขนาดของเก้งหม้อ ขนาดตัวยาวประมาณ 88 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ช่วงขาหลังยาวประมาณ 23 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22 กิโลกรัม
การกระจายพันธ์
ศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของเก้งหม้ออยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณรอบต่อพรมแดนไทย – เมียนม่าร์ เขตการกระจายพันธุ์มีอยู่ในแถบภาคใต้ของเมียนม่าร์ บริเวณเมืองหวาย เมย อัมเฮิร์สท์ และท่าท่อน ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแถวภาคตะวันตก ตั้งแต่เขตจังหวัดตาก ใต้ลงมาถึงจังหวัดราชบุรีและต่อลงมาถึงเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีแถบแหลมมาลายู
อุปนิสัยและการสืบพันธ์
นิสัยของเก้งบ้านชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นรกทึบตามเขาสูง ไม่ค่อยชอบ อยู่ป่าโปร่งหรือทุ่งโล่งอย่างเก้งฟาน ชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า “ เก้งดง “ มักพบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว ชอบออกหากินตามทุ่งโล่งในตอนกลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ต่าง ๆ หน่อไม้ หญ้าและลูกไม้ตามพื้นป่า พฤติกรรมความอยู่นอกจากนี้ยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะคล้ายคลึงกันกับฟาน ระยะตั้งท้องประมาณ 6 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
เนื่องจากเก้งเป็นสัตว์ที่ชอบออกหากินในตอนกลางวัน เนื้อมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของพวกพรานป่า เก้งหม้อจึงถูกล่าได้ง่าย แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรของเก้งลดน้อยลงอย่างรวดเร็วคือ เก้งหม้อมีขอบเขตการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่ตามป่าดิบทึบตามเขาสูง ไม่สามารถปรับตัวอาศัยถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือการเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนขนาดใหญ่ ทำให้จำนวนเก้งหม้อน้อยลงและสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายพื้นที่ แตกต่างจากเก้งฟาน ซึ่งสามารถมีชีวิตรอดแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง

ควายป่า
ประวัติความเป็นมา
ควายป่าจัดเป็นสัตว์จำพวกกีบคู่ ( Even - toed Ungulate ) จำพวกเดียวกันกับวัวป่า เท้าทั้ง 4ข้าง มีนิ้วเท้าขนาดใหญ่ข้องละ 2 นิ้ว เล็บที่ปลายนิ้วพัฒนามาเป็นกีบนิ้วแข็ง ( hoff ) ลักษณะเป็นกีบเท้าคู่ขนานกัน นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 5 ลดขนาดลงเหลือกีบกิ่งขนาด เล็ก ๆบริเวณข้อเท้าเหนือกีบนิ้ว ส่วนนิ้วโป้งหรือนิ้วที่ 1 หดหายไป จัดเป็นสัตว์กินพืชที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก มีการพัฒนาระบบย่อยอาหารแบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ฟันหน้าของกรามบนเปลี่ยนเป็นสันฟันคมสำหรับตัดฉีกพืชใบยาวจำพวกหญ้า กระเพาะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจะส่วนของกระเพาะพักขึ้นมาเคี้ยวให้ละเอียดได้ใหม่ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกหญ้าที่เป็นเส้นใยที่ย่อยยาก ๆ ควาย ( Buffalo ) ในสกุล Bubalus มีเพียงชนิดเดียวและถือว่าเป็นควายแท้ คือควายป่า ( Bubalus bubalis ) ซึ่งมีเขตกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียและมีนิสยชอบน้ำมากจึงได้ชื่อเรียกว่าควายน้ำเอเชีย ( Asian Waterbuffalo )
ลักษณะเด่น
รูปร่างลักษณะของควายป่ากับควายบ้านมีลักษณะคล้ายกันมาก เนื่องจากเป็นควายชนิดเดียวกัน แตกต่างกันที่สัดส่วนซึ่งใหญ่กว่ากันทุกสัดส่วนอย่างชัดเจน ลักษณะรูปร่างของควาย ค่อนข้างเตี้ยล่ำสัน สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีเทาหรือน้ำตาลดำ เส้นขนหยาบห่าง ช่วงคอใหญ่และหนา บริเวณลำคอมีแถบลายขนาดใหญ่สีขาวเป็นรูปตัว V หน้าผากแคบ ท้องไม่ป่องพลุ้ยอย่างควายบ้าน หางสั้น ความยาวเพียงแค่ข้อเข่าหลัง ปลายหางเป็นพู่ขนยาวใบหูแหลมมีขนขึ้นเต็มขาทั้ง 4 ข้าง
ขนาดของควายป่าไทย ช่วงลำตัวและหัวยาว 2.4-2.8 เมตร หางยาว 0.6-0.85 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.6-1.9 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 800-1,200 กิโลกรัม ส่วนขนาดควายบ้าน ขนาดตัวเฉลี่ย 1.3-1.5 เมตร ความสูงเฉลี่ย 1.2-1.4 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 360-440 กิโลกรัม
การกระจายพันธ์
เขตการกระจายพันธุ์ของควายป่ามีอยู่แถบประเทศอินเดีย เมียนมาร์และกลุ่มประเทศอินโดจีน แต่ไม่กระจายลงมาทางแหลมมาลายู ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของควายป่า อีกทั้งยังพบว่าควายป่าในประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่าควายป่าในแหล่งอื่น ๆ ปัจจุบันคาดว่ายังมีควายป่าแท้ ๆ หลงเหลืออยู่ในประเทศเนปาล รัฐอัสสัมและโอริสสาของอินเดีย
ในประเทศไทย แต่เดิมเคยมีควายป่าอยู่ตามป่าทุ้งโปร่งเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ แต่ปัจจุบันถูกล่าหมดไป ยังคงเหลืออยุ่เพียงแหล่งเดียวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทยธานี ประมาณ 40 ตัว ( 2536 )
อุปนิสัยและการสืบพันธ์
พฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่ว ๆ ไปของควายป่า ชอบอยู่รวมกันเป็นหมู่ที่มีตัวเมียและตัวผู้เล็ก ๆ ส่วนตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่มักชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังเป็นควายโทน ลักษณะรูปแบบสังคมคล้ายกับพวกวัวป่า แหล่งทีอยู่สำคัญได้แก่ ป่าทุ่งหรือป่าโปร่งตามที่ลุ่มต่ำที่มีหนองบึงสำหรับลงแช่ปลัก ปกติไม่ชอบอยู่ตามป่าเขาสูง ๆ ที่หาปลักโคนได้ยาก หรือตามป่าดิบรกทืบ เพาะมีเขายาวใหญ่เกะกะไม่สะดวกในการบุกรุก สายตาไม่ดี แต่จมูกและหูมีความไวต่อประสาทสัมผัสดีมาก

ฤดูผสมพันธุ์ของควายป่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ประมาณเดือน ตุลาคม-พฤษจิกายน ในช่วงฤดูนี้ ปกติแล้วควายป่าตัวเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 20-21 วัน ต่อครั้ง ระยะตั้งท้องของควายป่าประมาณ 310 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ภายหลังจากออกลูกประมาณ 40 วัน แมควายป่าจะสามารถผสมพันธุ์ตั้งท้องได้ใหมิอีก แต่โดยทั่วไปแล้วแม่จะเลี้ยงดูลูกนานประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยไม่ยอมผสมพันธุ์ใหม่อายุเฉลี่ยประมาณ 20-25 ปี
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
สาเหตุที่ทำให้ควายป่าในธรรมชาติ ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายถิ่นกำเนิดเดิม ได้แก่การล่าเพื่อเอาเนื้อ หนังและเขา เป็นอาหารและเครื่องประดับต่างๆ ทั้งนี้เนื่องมีนิสัยที่ๆไม่ค่อยกลัวหรือหลบคน และการแช่ปลักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่เดิมเป็นประจำ จึงถูกล่าได้ง่าย อีกทั้งป่าโปร่งหรือป่าทุ่งส่วนใหญ่ถูกทำลายเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่เกษตรกรรม ทำให้ควายป่ามีอยู่ถูกขับไล่กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ไม่สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการถ่ายทอยพันธุกรรมของสัตว์ที่อยู่เป็นฝูงอย่างยิ่ง นอกจากนี้การลูกรุกถิ่นที่อยู่ของควายผป่า อาจที่ให้ควายป่าผสมพันธุ์กับควายบ้านที่คนเอามาเลี้ยง ทำให้พันธุกรรมของควายป่าด้วยลง และอาจติดโรคระบาดจากควายบ้านได้ด้วย

แหล่งข้อมูลและภาพ..........www.geocities.com/thaisut/t/btaww.htm - 2k

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย



กาลา
ชื่อสามัญ Torch Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ethingera elatior (Jack) R.M. Smith
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ดาหลา, กาหลา, กะลา(ใต้)
ลักษณะจำเพาะ
กาลาเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นขึ้นตรงหลายต้นรวมกันเป็นกอ ลักษณะคล้ายข่า สูงประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู แดง ส้ม หรือขาว ออกเป็นช่อเดียวที่ปลายก้านซึ่งแทงขึ้นจากเหง้า กลีบแข็งซ้อนกันหลายชั้น ก้านดอกยาวถึง 1.5 เมตร มีกาบสีเขียวหุ้มดอกที่กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร มีใบประดับรอบนอกแผ่ออก กว้างประมาณ3-5 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ใบประดับชั้นในมีขนาดลดหลั่นกัน ยาว 3-5 เวนติเมตร แต่ละใบจะมี 1 ดอก และมีใบประดับย่อยรูปหลอด ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาวกว่าใบประดับย่อย ปลายจักเป็น 3 ซี่ หลอดกลีบดอกจะสั้นกว่ากลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้เป็นหมันสีแดงเลือดหมูเข้ม ขอบขาวหรือเหลือง มีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์เพียง 1 อัน มีก้านสีขาว อับเรณูสีแดง ผลกาลาจะเป็นรูปกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีขนนุ่มอยู่รอบๆผล เป็นพืชที่ออกดอกตลอดปี
การขายพันธุ์
กาลาขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เป็นไม้ที่แตกหน่อได้มาก ขึ้นได้ดีในดินที่มีความชื้น ชอบทั้งแสงแดดจัดและแดดรำไร
ประโยชน์
เป็นไม้ตัดดอกประดับตกแต่งสถานที่ต่างๆ หรือจัดแจกัน
เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่สามารถปลูกส่งออกได้ทั่วโลก นำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก
ถิ่นกำเนิด
กาลามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทั่วไป เช่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย



นางพญาเสือโคร่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides D.Don
วงศ์ ROSACEAE
ชื่ออื่นๆ ฉวีวรรณ
ไม้ต้น ผลัดใบ สูงประมาณ 10 เมตร ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่ ออกสลับ ปลายเรียวแหลม โคนกลมหรือสอบแคบ ขอบจัก ปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายหูกวาง ร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกปลายกิ่ง ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย ผลรูปไข่หรือกลม เมื่อสุก สีแดง
นิเวศวิทยา ขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล เช่น ดอยอินทนนท์
ออกดอก ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทิ้งใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์ เมล็ด
ประโยชน์ ผล รับประทานได้ รสเปรี้ยว



หางนกยูง
ไม้ต้นสูง 10-18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง และกลมคล้ายร่ม ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ใบย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก ดอก สีแดง แสดหรือเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบไม่เท่ากัน ผล เป็นฝักแบน แข็ง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ด 20-30 เมล็ด
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เกาะมาดากัสการ์ ปลุกได้ทั่วไป
ออกดอก เมษายน – มิถุนายน ผลัดใบก่อนออกดอก หรือออกดอกขณะแตกใบอ่อน
ขยายพันธุ์ เมล็ด



เบญจมาศ
เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-3 เมตร ใบมีขน กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกใหญ่ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีหลายสี หลายพันธุ์ บางพันธุ์ดอกโต บางพันธุ์ดอกเล็ก บางพันธุ์กลีบดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว อกดอกตลอกปี
การขยายพันธุ์
การปักชำ
ประโยชน์
เป็นไม้ตัดดอก ใช้จัดประดับตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
ถิ่นกำเนิด
มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น



กุหลาบ
ชื่อสามัญ Rose , China Rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa Linn.
วงศ์ ROSACEAE
กุหลาบ เป็นไม้ดอกที่มีอยู่หลายชนิด โดยมีทั้งที่เป็นไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลำต้นกุหลาบจะมีหนามแหลม ใบเป็นใบย่อย 3-5 ใบสลับกัน ขอบใบจักคล้ายฟันเลื่อย ใบอ่อนจะมีสีแดงหรือเขียวอมแดง ส่วนดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น และมีกลีบเลี้ยงสีเขียว
การขายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด ติดตา หรือปักชำ
ประโยชน์
- นิยมนำไปกลั่นทำน้ำหอม
- ปลูกประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ
- นำไปจัดเป็นช่อเพื่อเป็นของขวัญ
- กลีบดอกนำไปชุบแป้งทอดเป็นเครื่องเคียงกินกันน้ำพริกได้
ถิ่นกำเนิด
กุหลาบแพร่กระจายมาจากเปอร์เชีย (เอเชียกลาง) อินเดีย และแพร่กระจายทั่วโลก
แหล่งข้อมูลและภาพ....http://thaiflowers.4t.com/

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

กรุณาดาวน์โหลดไฟล์
googleลงคอมพิวเตอร์ของท่าน

วันเสาร์ที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2552

ปลวก

ปลวก
นางพญาปลวกกับบริวารปลวก
ปลวกตัวแรกของโลกถือกำเนิดเมื่อประมาณ 220 ล้านปีมาแล้ว การขุดพบซากฟอสซิลของปลวก โดย E.M. Bordy แห่งมหาวิทยาลัย Witwatersrand ในแอฟริกาใต้ทำให้นักชีววิทยาสัตว์ดึกดำบรรพ์รู้ว่าปลวกโบราณมีรูปร่างที่ละม้ายคล้ายคลึงแมลงสาบปัจจุบันมาก แต่มีขนาดเล็กกว่า และมีผิวอ่อนนุ่มกว่า ถึงแม้โลกทุกวันนี้มีปลวกมากกว่า 2,000 ชนิด แต่ก็มีเพียงไม่กี่ชนิดที่ชอบอาศัยอยู่ในเนื้อไม้ของอาคารบ้านเรือน ซึ่งนับเป็นภัยต่อที่อยู่อาศัย เพราะปลวกจะกัดกินสรรพสิ่งที่ทำด้วยไม้จนหมด และนั่นก็หมายความว่า เจ้าของบ้านจะต้องอพยพออกจากบ้านในที่สุด
ปลวกเป็นสัตว์สังคมที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูง มันทำมาหากินและดูแลกันอย่างเป็นทีม ลักษณะนิสัยเช่นนี้ทำให้มนุษย์หรือสัตว์อื่นๆ ปราบปรามหรือกำจัดมันได้ยาก ดังนั้น เวลาจะสร้างบ้าน เจ้าของบ้านควรใช้วิธีฉีดสารเคมีตามรังของมันที่อาจอยู่ในตอไม้หรือเศษไม้ใต้ดินให้ทั่ว เพื่อจะได้มั่นใจว่าปลวกตายหมด เพราะเหตุว่ายากำจัดปลวกเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตซึ่งหมายถึงมนุษย์ด้วย ดังนั้น การพ่นยากำจัดปลวกจึงต้องดำเนินไปอย่างระมัดระวังและสม่ำเสมอ โดยไม่ต้องรอให้แมลงเม่า ซึ่งเป็นปลวกในระยะสืบพันธุ์ต้องบินว่อนออกมา เพราะถ้าถึงเวลานั้น ทุกอย่างที่เป็นชิ้นส่วนของบ้านก็ตกอยู่ในภาวะอันตรายเรียบร้อยแล้ว

การใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่ในจอมปลวก และใต้ดินทำให้เราไม่ได้ศึกษาธรรมชาติของปลวกอย่างใกล้ชิด จนทำให้คนหลายคนคิดว่าปลวกคือ มดขาว แต่ในความเป็นจริงปลวกและมดเป็นสัตว์คนละชนิดกัน เพราะมดเป็นสัตว์ในอันดับ Hymenoptera และปลวกอยู่ในอันดับ Isoptera ทั้งนี้เพราะปีกของมดสั้น และมีขนาดไม่เท่ากัน แต่ปีกของปลวกยาวและใหญ่เกินตัว อีกทั้งมีขนาดเท่ากันด้วย นอกจากความแตกต่างเรื่องปีกแล้ว สรีระส่วนที่เป็นเอวก็แตกต่างกัน คือมดมีเอว แต่ปลวกไม่มี และเวลามดตัวผู้ผสมพันธุ์กับราชินีมดแล้ว มันจะตายในเวลาต่อมาอีกไม่นาน ส่วนปลวกตัวผู้เมื่อได้เสพสมกับราชินีปลวกแล้ว มันจะช่วยกันสร้างอาณาจักรปลวกให้มีบริเวณเพียงพอสำหรับให้ลูกปลวกเจริญเติบโต เพราะราชินีปลวกที่เติบโตเต็มที่อาจมีลำตัวยาวตั้งแต่ 9-12 เซนติเมตร และเวลาตั้งครรภ์ มันจะเดินไปไหนมาไหนไม่ได้ ถึงกระนั้นมันก็ไม่อดอาหารตาย เพราะมันมีปลวกงานที่มีนิสัยขี้อายแต่ขยันขันแข็งเดินหน้าหาอาหารมาให้ราชินีของมันเสวยตลอดวัน และมันยังช่วยทำความสะอาดตัวให้ราชินีของมันด้วย โดยการเลียตามตัวตลอดเวลา และเมื่อราชินีปลวกวางไข่แล้ว ปลวกงานก็จะขนไข่ไปเรียงให้เป็นที่เป็นทาง และหาอาหารมาเลี้ยงปลวกอ่อนที่ยังช่วยตัวเองไม่ได้ด้วย นักชีววิทยายังพบอีกว่า ปลวกบางชนิดรู้จักทำสวนรา ซึ่งให้ cellulose อันเป็นอาหารโปรดของมัน โดยมันจะขนใบหญ้าใบไม้มาวางกองจนใบไม้กลายสภาพเป็นรา อนึ่งราที่กำลังเจริญเติบโต มันจะคายไอน้ำออกมา ทำให้ความชื้นของบรรยากาศในรังอยู่ที่ระดับพอดีด้วย

ส่วนราชาปลวกนั้น ไม่ต้องทำมาหากินใดๆ เพราะอาณาจักรปลวกได้กำหนดหน้าที่หาอาหารให้ปลวกงานทำแล้ว มันจึงมีหน้าที่อย่างเดียวเท่านั้น คือสืบพันธุ์กับราชินีปลวกในเวลากลางคืน ซึ่งเป็นยามที่ศัตรูปลวกอันได้แก่ มด แมลงเต่าทอง ตัวต่อ กิ้งก่า ตะกวด ตะขาบ และคนนอนหลับพักผ่อน ทำให้ประสิทธิภาพในการสร้างปลวกอ่อนของมันไม่ถูกกระทบกระเทือน

ปลวกทหารเป็นปลวกอีกประเภทหนึ่งที่น่าสนใจ ปลวกประเภทนี้มีเขี้ยวสำหรับต่อสู้ศัตรูเช่น มดที่ชอบขโมยไข่ปลวกไปกิน ถึงแม้มดจะมีขนาดใหญ่กว่า และปลวกไม่มีตาจะเห็นข้าศึก แต่ปลวกทหารก็สามารถป้องกันรังของมันได้อย่างไม่ย่อท้อ โดยมันจะใช้เขี้ยวกัดแล้วปล่อยยางเหนียวๆ ออกมาตามตัวมด ซึ่งจะส่งกลิ่นล่อให้ปลวกทหารตัวอื่นๆ เข้ามากลุ้มรุมกัดมดที่บุกรุกรังมันจนตาย

อาณาจักรปลวกมีการปกครองแบบสมบูรณาสิทธิราชย์ คือมีราชินีปลวกเป็นเจ้าแม่ผู้ทรงอำนาจสูงสุด เพราะเจ้าแม่ปลวกบางพันธุ์อาจมีอายุยืนนานถึง 100 ปี ดังนั้น การมีประสิทธิภาพสูงในการผลิตปลวก จึงทำให้สมาชิกปลวกมีจำนวนเพิ่มขึ้นๆ ตลอดเวลา และนั่นก็หมายความว่า รังปลวกจะต้องมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ แต่ก็ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะปลวกงานมีความสามารถด้านสถาปัตยกรรมสูง โดยมันจะขนดินจากใต้ดินขึ้นมาบนดิน และวางให้เป็นกองแล้วใช้น้ำลายเป็นตัวเชื่อมเนื้อดิน จนได้จอมปลวกที่อาจสูงถึง 7 เมตร และนั่นก็หมายความว่า ถ้ามนุษย์จะเก่งเท่าปลวกในการสร้างบ้าน เราต้องสร้างตึกให้สูงเท่าดอยอินทนนท์ การไม่มีตาจะดู ทำให้ปลวกไม่รู้แม้แต่น้อยว่ารูปร่างในภาพรวมของรังมันมีหน้าตาอย่างไร แต่ในรายละเอียดเล็กน้อยมันรู้ดีเช่น มันรู้ว่ามันต้องสร้างรังให้เอียงเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมขัง และรังของมันต้องมีรูระบายอากาศเข้าออก อีกทั้งรูต้องมีลิ้นปิดเปิดให้ความชื้นภายในรังอยู่ที่ระดับพอดี สำหรับปลวก 2 ล้านตัวด้วย ทั้งๆ ที่ปลวกเหล่านี้หายใจก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาชั่วโมงละ 40 ลิตร

ความสามารถด้านกินของปลวกก็เป็นเรื่องมหัศจรรย์ เพราะมันกินได้ทั้ง cellulose และยางที่หุ้มสายโทรศัพท์หรือสายไฟฟ้า และในยามที่อาหารขาดแคลน มันก็อาจกินญาติที่อ่อนแอและลูกอ่อน หรือเวลาราชินีปลวกสิ้นพระชนม์ ปลวกบริวารก็จะจับซากราชินีมาสังเวยกินกัน

ในวารสาร Nature ฉบับที่ 415 ประจำวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2545 M. A. Merbach แห่งมหาวิทยาลัย Wolfgang Goethe ในประเทศเยอรมนี กับคณะได้รายงานว่า ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง Nepenthes albomarginata ซึ่งตามปกติจะหาอาหารโดยวิธีล่อสัตว์ขนาดเล็กเช่น มดให้ตกลงไปในโพรงหม้อ แล้วมันก็ขับน้ำย่อยออกมาย่อยเหยื่อที่เคราะห์ร้ายนั้น ใช้ขน (trichome) ที่ขึ้นตามบริเวณขอบปากหม้อล่อปลวก Hospitalitermes bicolor ให้เดินไปสู่ความตาย เพราะปลวกชนิดนี้เวลาเห็นขนขาวที่ขอบปากหม้อ มันจะหันกลับมาบอกเพื่อนปลวกให้เดินไปกินขนเหล่านั้นจนบริเวณขอบปากหม้อโล่งและลื่น ทำให้ปลวกทั้งหลายร่วงตกลงในหม้อ ถึงชั่วโมงละ 22 ตัว และเมื่อขนบริเวณขอบปากไม่มีแล้ว ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงต้นนั้น ก็ไม่เป็นที่พึงประสงค์ของปลวกใดๆ อีกต่อไป งานวิจัยนี้มีความสำคัญตรงที่ได้พบว่า N. albomarginata เป็นพืชกินสัตว์ชนิดแรกที่ใช้เนื้อเยื่อของตนล่อสัตว์ให้ตกเป็นเหยื่อ

ในวารสาร Proceedings of the National Academy of Sciences ฉบับที่ 99 หน้า 6,838 ปี พ.ศ. 2545 J. Traniello แห่งมหาวิทยาลัย Boston ในสหรัฐอเมริกาได้รายงานว่า ปลวกมีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคเหมือนมนุษย์ และนี่ก็คือเหตุผลหลักที่ทำให้สัตว์สังคมชนิดนี้มีอายุยืนนานนับ 200 ล้านปี โดย Traniello ได้อ้างถึงกรณีมดที่เวลาตายลง มดตัวอื่นๆ จะช่วยกันขนศพมดออกจากรังทันที เพื่อไม่ให้โรคจากมดตายมาคุกคามมดที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือผึ้งเวลาราในรังระบาด มันก็จะรวมกลุ่มกันทำให้บริเวณที่มันเกาะกลุ่มนั้นมีอุณหภูมิสูงจนสามารถฆ่าราได้ นั่นคือสัตว์สังคมเหล่านี้มีวิธีป้องกันโรคระบาดด้วยวิธีต่างๆ กัน ปลวก Zootermorpsis angustieollis ก็เช่นกัน เวลามีโรคระบาด ปลวกที่รอดตายจะมีภูมิคุ้มกัน และมันจะถ่ายทอดภูมิคุ้มกันนี้สู่ปลวกตัวอื่นๆ โดยถ่ายบักเตรีในกระเพาะให้ปลวกอื่นกิน ดังนั้น บักเตรีซึ่งสามารถทำหน้าที่ภูมิคุ้มกัน จึงสามารถผ่านจากปลวกตัวหนึ่งไปสู่ปลวกตัวอื่นๆ ได้

ณ วันนี้ ปลวกกำลังคุกคามอาคารสถานที่อยู่อาศัยของมนุษย์ทั่วโลก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ซึ่งต้องใช้งบประมาณ 45,000 ล้านบาท/ปี ในการต่อสู้ปลวก Formosan การสำรวจทำให้รู้ว่าขณะนี้ปลวก Formosan ในอเมริกามีประมาณ 500,000-3.5 ล้านตัว ปลวกอันตรายพันธุ์นี้ได้ติดมากับเรือจากเอเชียเมื่อประมาณ 60 ปีก่อนนี้ และขณะนี้ได้เข้ามาอาศัยอยู่ตามต้นไม้ ตามบ้านในรัฐทางใต้ และฮาวาย โดยเฉพาะที่เมือง New Orleans มีปลวก Coptotermes formosanus มากเป็นพิเศษ เพราะที่นี่มีอากาศอบอุ่น มีความชื้นสูง และบ้านไม้ในเมืองมักมีเถาวัลย์ปกคลุม

อนึ่งในการต่อสู้ปลวกนั้น คนกำจัดปลวกใช้กล้อง infrared ส่องตามผนัง เพราะรู้ว่าถ้าที่ใดมีปลวกอาศัยอยู่บริเวณนั้น จะมีความร้อนมาก ปลวกจำนวนมากจะแผ่รังสีอินฟราเรดออกมามากซึ่งกล้องสามารถรับได้ นักกำจัดปลวกบางคนใช้วิธีส่งคลื่น microwave ไปกระทบผนัง ถ้าคลื่นกระทบปลวกที่กำลังเคลื่อนที่ คลื่นที่สะท้อนกลับออกมาจะทำให้เจ้าหน้าที่รู้ได้ว่าภายในกำแพงหรือผนังนั้น มีปลวกหรือไม่ และเมื่อรู้ว่าปลวกมีจริงแล้ว หน้าที่ต่อไปคือ กำจัดมันโดยอาจใช้ยาฉีดที่ทำด้วย hexaflumuron ซึ่งจะทำให้ปลวกที่ลอกคราบมีปัญหา เพราะสารเคมีชนิดนี้สามารถทำให้เปลือกหุ้มตัวปลวกไม่แข็งตัว และปลวกก็จะตาย หรือฉีดพ่นด้วย chlorfenapyr ก็เป็นการฆ่าปลวกด้วยสารเคมีอีกวิธีหนึ่ง วิธีการเปลี่ยนแปลงยีน (gene) ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่กำลังได้รับการพิจารณาว่าเป็นวิธีกำจัดที่ดี โดยพยายามเปลี่ยนแปลงตัวอ่อน เป็นปลวกทหารให้หมด เพราะปลวกทหารเป็นหมัน และไม่มีหน้าที่หาอาหาร ดังนั้น ถ้ารังปลวกมีปลวกทหารมาก ปลวกงานก็ต้องหาอาหารมากขึ้นๆ จนในที่สุดปลวกงานก็จะล้มตาย และปลวกทหารก็จะล้มตาย
แหล่งที่มา.....http://www.ipst.ac.th/ThaiVersion/publications/in_sci/physics.shtml