วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ดอกไม้ในวรรณคดีไทย



กาลา
ชื่อสามัญ Torch Ginger
ชื่อวิทยาศาสตร์ Ethingera elatior (Jack) R.M. Smith
วงศ์ ZINGIBERACEAE
ชื่ออื่น ดาหลา, กาหลา, กะลา(ใต้)
ลักษณะจำเพาะ
กาลาเป็นไม้ล้มลุก มีลำต้นขึ้นตรงหลายต้นรวมกันเป็นกอ ลักษณะคล้ายข่า สูงประมาณ 2-5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร ดอกมีหลายสี เช่น ชมพู แดง ส้ม หรือขาว ออกเป็นช่อเดียวที่ปลายก้านซึ่งแทงขึ้นจากเหง้า กลีบแข็งซ้อนกันหลายชั้น ก้านดอกยาวถึง 1.5 เมตร มีกาบสีเขียวหุ้มดอกที่กว้างประมาณ 10 เซนติเมตร มีใบประดับรอบนอกแผ่ออก กว้างประมาณ3-5 เซนติเมตร ยาว 8-12 เซนติเมตร ใบประดับชั้นในมีขนาดลดหลั่นกัน ยาว 3-5 เวนติเมตร แต่ละใบจะมี 1 ดอก และมีใบประดับย่อยรูปหลอด ยาวประมาณ 2 เซนติเมตร หลอดกลีบเลี้ยงยาวกว่าใบประดับย่อย ปลายจักเป็น 3 ซี่ หลอดกลีบดอกจะสั้นกว่ากลีบเลี้ยง เกสรตัวผู้เป็นหมันสีแดงเลือดหมูเข้ม ขอบขาวหรือเหลือง มีเกสรตัวผู้ที่สมบูรณ์เพียง 1 อัน มีก้านสีขาว อับเรณูสีแดง ผลกาลาจะเป็นรูปกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2-2.5 เซนติเมตร และมีขนนุ่มอยู่รอบๆผล เป็นพืชที่ออกดอกตลอดปี
การขายพันธุ์
กาลาขยายพันธุ์โดยการแยกหน่อ เป็นไม้ที่แตกหน่อได้มาก ขึ้นได้ดีในดินที่มีความชื้น ชอบทั้งแสงแดดจัดและแดดรำไร
ประโยชน์
เป็นไม้ตัดดอกประดับตกแต่งสถานที่ต่างๆ หรือจัดแจกัน
เป็นพืชเศรษฐกิจของไทยที่สามารถปลูกส่งออกได้ทั่วโลก นำรายได้เข้าประเทศจำนวนมาก
ถิ่นกำเนิด
กาลามีถิ่นกำเนิดในเขตร้อนทั่วไป เช่น ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แถบมาเลเซีย อินโดนีเซีย และไทย



นางพญาเสือโคร่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Prunus cerasoides D.Don
วงศ์ ROSACEAE
ชื่ออื่นๆ ฉวีวรรณ
ไม้ต้น ผลัดใบ สูงประมาณ 10 เมตร ใบ ใบเดี่ยว รูปไข่ ออกสลับ ปลายเรียวแหลม โคนกลมหรือสอบแคบ ขอบจัก ปลายก้านใบมีต่อม 2-4 ต่อม หูใบแตกแขนงคล้ายหูกวาง ร่วงง่าย ดอก สีขาว ชมพู หรือแดง ออกเป็นช่อกระจุกปลายกิ่ง ขอบริ้วประดับจักไม่เป็นระเบียบ กลีบเลี้ยงติดกันเป็นรูปกรวย ผลรูปไข่หรือกลม เมื่อสุก สีแดง
นิเวศวิทยา ขึ้นตามภูเขาที่สูงจากระดับน้ำทะเล เช่น ดอยอินทนนท์
ออกดอก ธันวาคม-กุมภาพันธ์ ทิ้งใบก่อนออกดอก
ขยายพันธุ์ เมล็ด
ประโยชน์ ผล รับประทานได้ รสเปรี้ยว



หางนกยูง
ไม้ต้นสูง 10-18 เมตร เรือนยอดแผ่กว้าง และกลมคล้ายร่ม ใบ ใบประกอบแบบขนนกสองชั้น ออกสลับ ใบย่อยจำนวนมากขนาดเล็ก ดอก สีแดง แสดหรือเหลือง ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง และซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 5 กลีบไม่เท่ากัน ผล เป็นฝักแบน แข็ง เมื่อแก่แตกเป็น 2 ซีก เมล็ด 20-30 เมล็ด
นิเวศวิทยา ถิ่นกำเนิด เกาะมาดากัสการ์ ปลุกได้ทั่วไป
ออกดอก เมษายน – มิถุนายน ผลัดใบก่อนออกดอก หรือออกดอกขณะแตกใบอ่อน
ขยายพันธุ์ เมล็ด



เบญจมาศ
เป็นไม้ล้มลุก สูง 1-3 เมตร ใบมีขน กลีบดอกซ้อนกันหลายชั้น กลีบดอกใหญ่ ออกดอกเป็นช่อตามปลายกิ่ง มีหลายสี หลายพันธุ์ บางพันธุ์ดอกโต บางพันธุ์ดอกเล็ก บางพันธุ์กลีบดอกซ้อนถี่แน่น บางพันธุ์กลีบดอกยาวบิดเป็นเกลียว อกดอกตลอกปี
การขยายพันธุ์
การปักชำ
ประโยชน์
เป็นไม้ตัดดอก ใช้จัดประดับตกแต่งในงานพิธีต่างๆ
ถิ่นกำเนิด
มีถิ่นกำเนิดในประเทศจีนและญี่ปุ่น



กุหลาบ
ชื่อสามัญ Rose , China Rose
ชื่อวิทยาศาสตร์ Rosa Linn.
วงศ์ ROSACEAE
กุหลาบ เป็นไม้ดอกที่มีอยู่หลายชนิด โดยมีทั้งที่เป็นไม้พุ่มและไม้เลื้อย ลำต้นกุหลาบจะมีหนามแหลม ใบเป็นใบย่อย 3-5 ใบสลับกัน ขอบใบจักคล้ายฟันเลื่อย ใบอ่อนจะมีสีแดงหรือเขียวอมแดง ส่วนดอกมีทั้งดอกเดี่ยวและเป็นช่อ กลีบดอกมีชั้นเดียวหรือหลายชั้น และมีกลีบเลี้ยงสีเขียว
การขายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการตอนกิ่ง เพาะเมล็ด ติดตา หรือปักชำ
ประโยชน์
- นิยมนำไปกลั่นทำน้ำหอม
- ปลูกประดับตกแต่งตามสถานที่ต่างๆ
- นำไปจัดเป็นช่อเพื่อเป็นของขวัญ
- กลีบดอกนำไปชุบแป้งทอดเป็นเครื่องเคียงกินกันน้ำพริกได้
ถิ่นกำเนิด
กุหลาบแพร่กระจายมาจากเปอร์เชีย (เอเชียกลาง) อินเดีย และแพร่กระจายทั่วโลก
แหล่งข้อมูลและภาพ....http://thaiflowers.4t.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น