วันพุธที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

สัตว์ป่าสงวนของไทย


ลักษณะเด่น
นกแต้วแล้วทองดำ
ลักษณะสีสันของเพศผู้ และเพศเมียจะแตกต่างกัน โดยนกกระแต้วแล้วเพศผู้ บริเวณหัวและท้ายทอยจะมีสีน้ำเงินแกมฟ้าสีสดใส ตัดกับใบหน้าและหน้าผาก ซึ่งมีสีดำสนิท คอสีขาวครีมอกส่วนบนเป็นแถบสีเหลืองสด อกส่วนล่างจะมีสีดำเป็นมัน ท้องและก้นสีดำ สีข้างและข้างลำตัวเป็นสีเหลือง และมีลายสีดำสั้นๆ คาดเป็นบั้งๆ ตลอดแนวลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเหลือง ปีกเป็นสีน้ำตาลเข้มกว่าลำตัวเล็กน้อย หางและขนคลุมทางด้านบนเป็นสีฟ้าอมเขียวราวกับสีของเครื่องะดับประเภทหยก กลางหางเป็นสีดำเรียบๆ ขาเป็นสีชมพูเรื่อๆ ปากเป็นสีดำ ส่วนนกแต้วแล้วเพศเมีย ลักษณะเด่นก็คือ หัวและท้ายทอยสีน้ำตาลเหลือง บริเวณหัว ตา หลังตา และขนคลุมหูสีดำ คอสีเหลืองครีม บริเวณส่วนล่างของลำตัวมีสีขาวอมเหลืองและมีลายสีดำสั้นๆ คาดตามขวางของ ลำตัว ส่วนหาง ด้านบนของลำตัว ปีกและส่วนอื่นๆ คล้ายเพศผู้ แต่เพศเมียแต่เพศเมียจะมีขนาดย่อมกว่าเพศผู้เล็กน้อยโดยทั่วไปนกกระแต้วแล้วท้อวดำมีขนาดความยาวประมาณ 22 ซ.ม. เป็นนกที่มีขนาดเล็ก ลำตัวอ้อนป้อม หัวโต ขาแข็งแรง หางสั้น เวลาหากินชอบกระโดอยู่ตามพื้นป่า และ ส่งเสียงร้องไปด้วย
การกระจายพันธ์
นกกระแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่มีเขตการกระจายพันธุ์ค่อนข้างจำกัด อยู่ระหว่างเส้นรุ้งที่ 7-12 เหนือ พบได้ทางตอนไต้สุดของพม่า แถบเทือกเขาตะนาวศรี ในประเทศไทยเคยพบบตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ถึงจังหวัดตรัง
อุปนิสัยและการสืบพัธุ์
นกกระแต้วแล้วท้องดำชอบอาศัยอยู่ตามป่าซึ่งอยู่ในระดับต่ำ ชอบอยู่ตามลำพังไม่รวมกลุ่ม เดินและกระโดดหากินอยู่บนพื้นดินการทำรังวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน นกกระแต้วแล้วท้องดำล้วนสร้างรังบนต้นไม้ที่มีหนามแหลมโดยรังสูงจากพื้นดินประมาณ 1-2.5 เมตร ลักษณะของตัวรัง มีรูปร่างกลมป้านคล้ายลูกบอลขนาดย่อมๆมีทางเข้าออกอยู่ทางด้านใดด้านหนึ่งเพียงด้านเดียว ตัวรังสร้างจากเศษใบไม้แห้งและกิ่งไม้เล็กๆ โดยภายในรังบุด้วยรากไม้เล็กๆ หรือเส้นใยนุ่มๆ จากใบไม้ ส่วนภายนอกมีหนามจากต้นไม้ที่มันทำรังเป็นเกราะคุ้มภัยอีกชั้นหนึ่ง ต้นไม้ที่พบว่านกแต้วแล้วท้องดำใช้ทำรัง ได้แก่ ต้นระกำ กอหวาย หรือต้นชิง ซึ่งขึ้นริมลำธารเล็กๆ ทำให้เป็นการสะดวกที่พ่อแม่นกจะหาอาหารมาเลี้ยงลูก การวางไข่ของนกแต้วแล้วท้องดำวางไข่ครั้งละประมาณ 3-4 ฟอง ไข่มีละกษณะสีขาวนวล แต้มด้วยจุดสีน้ำตาลเล็กๆ โดยทั่วไปนกแต้วแล้วท้องดำจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงกรกฎาคม ระยะของการกกไข่ยังไม่ชัดเจน แต่คาดว่าอยู่ระหว่าง 10-14 วัน โดยทั้งพ่อและแม่ช่วยกันกกไข่ เมื่อไข่ฟักออกเป็นตัว พ่อแม่นกจะทำลายเปลือกไข่โดยกินเสียทั้งหมด เพื่อเป็นการอำพรางศัตรู เพียงหนึ่งสัปดาห์ลูกนกเริ่มมีขนเป็นเส้นกลมๆ สีเทาดำอยู่ทั่วทั้งตัว เมื่ออายุได้ 14 วัน ขนจะขึ้นเต็มตัว จากการศึกษาพบว่าลูกนกจะออกจากรังเมื่ออายุประมาณ 15-16 วัน
อาหารของนกกระแต้วแล้วท้องดำ ได้แก่ ไส้เดือนตัวอ่อนของแมลง แมลงต่างๆ หอยทาก กบ ปลวก เป็นต้น นกแต้วแล้วท้องดำมีอุปนิสัยชอบทำรังใกล้ลำธารที่มีดินอ่อนนุ่ม ซึ่งทำให้ง่ายต่อการหาอาหารและอาหารอุดมสมบูรณ์กว่าบริเวณที่ดอน นกแต้วท้องดำจะกระโดดอย่างคล่องแคล่วไปตามพื้นดินแล้วใช้ปากจิกหรือพริกใบไม้เพื่อหาอาหาร หรือใช้ปากขุดเพื่อหาไส้เดือน โดยจิกคาบเหยื่อใหม่พร้อมเหยื่อเก่าไว้ในปากจนกระทั่งเต็มปาก จึงจะนำกลับมาป้อนให้ลูกont>
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
เนื่องจากนกแต้วแล้วท้องดำเป็นนกที่หายาก และเป็นนกที่พบได้เฉพาะถิ่นจึงทำให้นักนิยมเลี้ยงนกอยากได้ไว้มาครอบครอง และทำให้ราคานกแต้วแล้วท้องดำพุ่งสูงขึ้น ยิ่งราคาแพงก็ยิ่งมีผู้เสาะแสวงหามาไว้ครอบครอง เพราะว่าเป็นสัตว์ใกล้สูญพันธุ์ และมีสีสันสวยงาม นอกจากนี้การทำลายถิ่นที่อยู่อาศัย เช่น การตัดไม้ทำลายป่า เพราะว่าระบบนิเวศของนกแต้วแล้วท้องดำ เป็นป่าดงดิบต่ำ ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะอย่างยิ่งในการทำงานเกษตร เช่น สวนปาล์มน้ำมัน สวนยางพารา เพราะสภาพพื้นดินมีความอุดมสมบูรณ์ส่งผลให้เกิดการแผ้วถางยึดถือครอบครองถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเกิดขึ้นอย่างกว้าขวางนอกจากนั้นโครงการพัฒนาต่างๆ เช่น การสร้างเขื่อน ตัดถนน หรือพัฒนาในการตั้งถิ่นฐานเป็นเมืองของมนุษย์ ก็ล้วนเป็นสาเหตุของการทำให้นกอยู่ในภาวะล่อแหลมใกล้สูญพันธุ์แทบทั้งสิ้น นอกจากนี้ก็มีศัตรูในธรรมชาติ เช่น งู หนู หรือสัตว์ผู้ล่าอื่นๆ
นกเจ้าฟ้าสิรินธร

ประวัติความเป็นมา
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร เป็นนกในวงศ์นกนางแอ่นชนิดใหม่ล่าสุดของโลก และเป็นนกชนิดแรกที่ค้นพบใหม่โดยคนไทย ทำการศึกษาวิเคราะห์เปรียบเทียบและจำแนกตัวอย่างต้นแบบโดยคนไทยและตั้งชื่อวิทยาศาสตร์โดยคนไทย โดยได้อันเชิญพระนามของเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเทพรัตนสุดา ( พระยศในขณะนั้น ) มาตั้งเป็นชื่อชนิดของนกที่พบใหม่นี้คือ “ Sirintarae ”
นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรถูกพบครั้งแรกโดย คุณกิตติ ทองลงยา นักวิทยาศาสตร์ไทย ตำแหน่งภัณฑารักษ์ สัตว์มีกระดูกสันหลังบนบก ศูนย์รวมวัสดุอุเทศแห่งประเทศไทย สถาบันวิจัยศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2511 โดยได้นกตัวอย่างแรกนี้ปะปนมากับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ที่ชาวบ้านจับมาขายจากบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งในครั้งนั้นสามารถเก็บรวบรวมนกจากแหล่งเดิมจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ในปีเดียวกัน ได้นกตัวอย่างต้นแบบในการศึกษาวิเคราะห์ทั้งหมดรวม 10 ตัว ภายหลังจากการถูกค้นพบแล้ว มีรายงานพบนกที่ถูกจับมาขายอีก 2 ครั้ง ต่อมาในปี 2515 ได้พบนกจำนวน 2 ตัว และครั้งสุดท้ายพบเพียง 1 ตัวในปี 2521 นับจากนั้นยังไม่มีรายงานการพบเห็นอย่างเป็นทางการหรือถูกดักจับได้อีกจนถึงปัจจุบัน
ลักษณะเด่น
ลักษณะทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรต่างไปจากนกนางแอ่นทั่ว ๆ ไป แต่มีรูปร่างคล้ายและจำแนกอยู่ร่วมสกุลเดียวกับนกนางแอ่นเทียมคองโก ( pseudochelidon eurystomina ) ซึ่งเป็นนกนางแอ่นที่มีถิ่นที่อยู่เฉพาะในแถบลุ่มแม่น้ำคองโก ประเทศซาอีร์ ตอนกลางของทวีปแอฟริกาตะวันตกเท่านั้น ส่วนลักษณะที่แตกต่างกันเด่นชัด ได้แก่ สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีดำออกเหลืองเขียวหรือน้ำเงินเข้มบริเวณหน้า ผากมีขนสีดำคล้ายกำมะหยี่ ขอบตาขาว ตา และม่านตาเป็นสีขาว มีสีชมพูเรื่อ ๆ เป็นวงในม่านตา แข้งและขาสีชมพู บริเวณสะโพกสีขาว ขนหางสั้นมนกลม ขนหางคู่กลางมีแกนยื่นออกมาคล้ายหางบ่วงเห็นชัดเจน และขนบริเวณใต้คอเป็นสีน้ำตาลอมดำ
ขนาดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร วัดจากจงอยปากถึงโคนหางยาวประมาณ 15 เซนติเมตร จัดเป็นนกนางแอ่นขนาดใหญ่ และจากลักษณะที่มีวงสีขาวรอบตา ทำให้ดูคล้ายตาโปนพองออกมา ชาวบ้านจึงเรียกชื่อว่า “ นกตะพอง ”
การกระจายพันธ์
มีรายงานว่าการพบตัวเพียงแห่งเดียวที่บึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษจิกายน – มีนาคม จัดเป็นนกเฉพาะถิ่น 1 ใน 2 ชนิดของไทย
อุปนิสัยและการสืบพันธ์
นิสัยทั่วไปของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรค่อนข้าง เชื่องไม่ปราดเปรียว และชอบชอบเกาะนิ่งอยู่กับพื้นซึ่งแตกต่างกับนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ในช่วงฤดูหนาวมักพบเห็นอยู่ปะปนกับฝูงนกนางแอ่นบ้าน นกกระจาบและนกกระจาบปีกอ่อนตมพงอ้อและดงต้นสนุ่นตามแหล่งน้ำตื้น ๆ ไม่มีรายงานการพบเห็นหรือจับตัวได้ในช่วงฤดูร้อน จึงคาดว่านกฟ้าหญิงสิรินธรจะอพยพมาหากินตามแหล่งน้ำตื้นใกล้ชายฝั่งในช่วงฤดูหนาว ทำให้ถูกดักจับด้วยตาข่ายได้เนือง ๆ จากหลักฐานข้อมูลที่ได้กล่าวไว้ว่า นกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกเฉพาะถิ่นของบึงบอระเพ็ดในช่วงฤดูหนาว
การจับคู่ผสมพันธ์และทำรังวางไข่ของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร ไม่ทราบแน่นอน แต่ทราบว่าน่าจะคล้ายกับนกนางแอ่นเทียมคองโกของแอฟริกา ซึ่งมีการจับคู่ผสมพันธุ์และทำรังวางไขาในช่วงฤดูร้อน โดยจะทำรังไข่โดยการขุดรูตามพื้นหาดทราย หรือหาดทรายบนเกาะกลางน้ำ ซึ่งมีพบอยู่มากทางตอนเหนือของบึงบรเพ็ดขนากของรุรังลึก 1-2 เมตร วางไข่ชุดละ 2-3 ใบ
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
ภายหลังจากที่ไม่มีการพบเห็นนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรใน บึงบอระเพ็ดมาเป็นเวลา 15 ปีทำให้เชื่อว่า นกชนิดนี้อาจสูญพันธุ์ไปจากบึงบอระเพ็ด ซึ่งหมายถึงสูญพันธุ์ไปจากประเทศไทยและจากโลกไปแล้วหรืออาจจะยังหลงเหลืออยู่บ้าง แต่ก็น้อยมาก ทั้งนี้มีสาเหตุมารจากนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นนกโบราณที่ยังหลงเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย แล้วยังถูกล่าหรือถูกดักจับไปพร้อมนกนางแอ่นชนิดอื่น ๆ ประกอบกับแหล่งที่อยู่อาศัยถูกทำลายไปโดยการประมงและการเปลี่ยนแปลงของหนองบึงเป็นนาข้าวหรือทุ่ง เลี้ยงสัตว์ รวมถึงการควบคุมน้ำในบึเพื่อการพัฒนาในด้านต่าง ๆ ล้วนส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและการอยู่รอดของนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธรเป็นอย่างยิ่ง
เก้งหม้อ

ประวัติความเป็นมา
เก้งหม้อค้นพบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2432 โดย Leonardo Fea เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์สถานเมือง เจนัว ประเทศอิตาลี เป็นซากเก้งที่ได้จากแถบ Thagata Juva ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ของเทือกเขา Mulaiyit ในเขตตะนาวศรีของประเทศพม่า จึงได้ส่งตัวอย่างเก้งนี้ให้นักวิทยาศาสตร์ 2 ท่าน จากผลการตรวจสอบพบว่ามีลักษณะต่างจากเก้งชนิดอื่นอย่างเห็นได้ชัด จึงได้ชื่อทางวิทยาศาสตร์เป็น Cervurus feae Thomas and Doria 1989
ต่อมาในปี พ.ศ. 2506 Healtenorht ได้มีการตรวจสอบพบว่าชื่อสกุล Cerverus ตั้งชื่อซ้ำกับสกุล Muntiacus Rafinesque 1815 ซึ่งได้แพร่หลายกันมาก่อน จึงเสนอให้เปลี่ยนมาเป็น Muntiacus feae ( Thomas and Diria 1989 )
เก้งหม้อจัดอยู่ในสัตว์จำพวกกวางแท้ เนื่องจากมีกีบเท้าเป็นคู่ เท่าแต่ละข้างมีนิ้วเท้าเจริญดี 2 นิ้ว กระเพราะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจากส่วนกระเพาะพักที่ย่อยไม่ละเอียด ขึ้นมาเคี้ยวใช่องปากให้ละเอียดได้อีก ลักษณะเขาเก้งหม้อและเขาชนิดอื่น ต่างจากกวางส่วนใหญ่ซึ่งจัดอยู่ในสกุล Cervus จึงถูกแยกออกไปรวมไว้ในสกุล Muntiacus โดยพิจารณาจากลักษณะเฉพาะ คือ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเล็กสั้น แต่ฐานเขา ( Pedicel ) ยาวมาก ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน กระดูกดั้งจมูกยกเป็นสันสูง จมูกของเก้งจึงเห็นนูนเป็นสันขึ้นมา ไม่เรียบอย่างจมูกกวางทั่ว ๆ ไป
ลักษณะเด่น
รูปร่างลักษณะทั่วไปของเก้งหม้อคล้ายกับฟานหรือเก้งธรรมดา ( Common Barking Deer , Muntiacus muntjak ) มีขนาดตัวไล่เลี่ยกัน ขนาดตามตัวสั้นเกรียนและละเอียดนุ่ม ดั้งจมูกเป็นสันยาว มีแอ่งน้ำตาขนาดใหญ่ขอบแอ่งเป็นสันยกสูงอยู่บริเวณหัวตา ตัวผู้มีเขี้ยวขนาดใหญ่และยาวโค้งที่ขากรรไกรบน ใช้เป็นอาวุธต่อสู้ป้องกันตัวเองได้ ลักษณะเขาบนหัว ตัวเขาสั้น แต่ฐานยาวมากและมีขนหุ้มเต็มด้วย ช่วงโคนของฐานเขาแต่ละข้างจะยาวทอดเห็นเป็นรูปสันนูนลงไปตามความยาวของใบหน้า
ลักษณะเด่นเฉพาะเก้งหม้อ รูปร่างของเขาเก้งฟานคือ เป็นเขาสั้น ๆ มี 2 กิ่ง กิ่งหน้าสั้น กึ่งหลังยาว แต่โดยเฉลี่ยแล้วเขามีขนาดเล็กและสั้นกว่า ลักษณะเขามีกิ่งหน้าหรือกิ่งรับหมาแตกไปข้างหน้าเป็นกิ่งสั่น ๆ ดูคล้ายกับเป็นกิ่งแขนงของลำเขา ซึ่งยาวกว่าและแตกไปด้านหลัง บริเวณหน้าผากระหว่างสันของของฐานขาทั้งคู่จะมีพู่ขนเป็นกระจุยยาวสีดำตล้ำ นอกจากนี้สีขนตามตัว ซึ่งเป็นลักษณะสำคัญเฉพาะของเก้งหม้อและแตกต่างไปจากเก้งฟานเด่นชัด
ขนาดของเก้งหม้อ ขนาดตัวยาวประมาณ 88 เซนติเมตร หางยาวประมาณ 10 เซนติเมตร ช่วงขาหลังยาวประมาณ 23 เซนติเมตร น้ำหนักตัวประมาณ 22 กิโลกรัม
การกระจายพันธ์
ศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของเก้งหม้ออยู่ในแถบเทือกเขาตะนาวศรี บริเวณรอบต่อพรมแดนไทย – เมียนม่าร์ เขตการกระจายพันธุ์มีอยู่ในแถบภาคใต้ของเมียนม่าร์ บริเวณเมืองหวาย เมย อัมเฮิร์สท์ และท่าท่อน ส่วนในประเทศไทยพบว่าในแถวภาคตะวันตก ตั้งแต่เขตจังหวัดตาก ใต้ลงมาถึงจังหวัดราชบุรีและต่อลงมาถึงเขตจังหวัดสุราษฎร์ธานีแถบแหลมมาลายู
อุปนิสัยและการสืบพันธ์
นิสัยของเก้งบ้านชอบอาศัยอยู่ตามป่าดิบชื้นรกทึบตามเขาสูง ไม่ค่อยชอบ อยู่ป่าโปร่งหรือทุ่งโล่งอย่างเก้งฟาน ชาวบ้านบางคนจึงเรียกว่า “ เก้งดง “ มักพบอาศัยอยู่ตามลำพังตัวเดียว ชอบออกหากินตามทุ่งโล่งในตอนกลางคืน อาหารได้แก่ ใบไม้ต่าง ๆ หน่อไม้ หญ้าและลูกไม้ตามพื้นป่า พฤติกรรมความอยู่นอกจากนี้ยังไม่ทราบแน่นอน แต่คาดว่าน่าจะคล้ายคลึงกันกับฟาน ระยะตั้งท้องประมาณ 6 เดือน ออกลูกท้องละ 1 ตัว
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
เนื่องจากเก้งเป็นสัตว์ที่ชอบออกหากินในตอนกลางวัน เนื้อมีรสชาติดี เป็นที่นิยมของพวกพรานป่า เก้งหม้อจึงถูกล่าได้ง่าย แต่สาเหตุสำคัญที่ทำให้ประชากรของเก้งลดน้อยลงอย่างรวดเร็วคือ เก้งหม้อมีขอบเขตการกระจายพันธุ์จำกัดอยู่ตามป่าดิบทึบตามเขาสูง ไม่สามารถปรับตัวอาศัยถูกบุกรุกทำลายเปลี่ยนเป็นพื้นที่เกษตรกรรมหรือการเก็บกักน้ำเหนือเขื่อนขนาดใหญ่ ทำให้จำนวนเก้งหม้อน้อยลงและสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายพื้นที่ แตกต่างจากเก้งฟาน ซึ่งสามารถมีชีวิตรอดแพร่ขยายพันธุ์ได้อย่างกว้างขวาง

ควายป่า
ประวัติความเป็นมา
ควายป่าจัดเป็นสัตว์จำพวกกีบคู่ ( Even - toed Ungulate ) จำพวกเดียวกันกับวัวป่า เท้าทั้ง 4ข้าง มีนิ้วเท้าขนาดใหญ่ข้องละ 2 นิ้ว เล็บที่ปลายนิ้วพัฒนามาเป็นกีบนิ้วแข็ง ( hoff ) ลักษณะเป็นกีบเท้าคู่ขนานกัน นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 5 ลดขนาดลงเหลือกีบกิ่งขนาด เล็ก ๆบริเวณข้อเท้าเหนือกีบนิ้ว ส่วนนิ้วโป้งหรือนิ้วที่ 1 หดหายไป จัดเป็นสัตว์กินพืชที่กินหญ้าเป็นอาหารหลัก มีการพัฒนาระบบย่อยอาหารแบบสัตว์เคี้ยวเอื้อง ฟันหน้าของกรามบนเปลี่ยนเป็นสันฟันคมสำหรับตัดฉีกพืชใบยาวจำพวกหญ้า กระเพาะอาหารมี 4 ตอนทำให้สามารถสำรอกอาหารจะส่วนของกระเพาะพักขึ้นมาเคี้ยวให้ละเอียดได้ใหม่ ช่วยในการย่อยอาหารจำพวกหญ้าที่เป็นเส้นใยที่ย่อยยาก ๆ ควาย ( Buffalo ) ในสกุล Bubalus มีเพียงชนิดเดียวและถือว่าเป็นควายแท้ คือควายป่า ( Bubalus bubalis ) ซึ่งมีเขตกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียและมีนิสยชอบน้ำมากจึงได้ชื่อเรียกว่าควายน้ำเอเชีย ( Asian Waterbuffalo )
ลักษณะเด่น
รูปร่างลักษณะของควายป่ากับควายบ้านมีลักษณะคล้ายกันมาก เนื่องจากเป็นควายชนิดเดียวกัน แตกต่างกันที่สัดส่วนซึ่งใหญ่กว่ากันทุกสัดส่วนอย่างชัดเจน ลักษณะรูปร่างของควาย ค่อนข้างเตี้ยล่ำสัน สีขนตามตัวทั่วไปเป็นสีเทาหรือน้ำตาลดำ เส้นขนหยาบห่าง ช่วงคอใหญ่และหนา บริเวณลำคอมีแถบลายขนาดใหญ่สีขาวเป็นรูปตัว V หน้าผากแคบ ท้องไม่ป่องพลุ้ยอย่างควายบ้าน หางสั้น ความยาวเพียงแค่ข้อเข่าหลัง ปลายหางเป็นพู่ขนยาวใบหูแหลมมีขนขึ้นเต็มขาทั้ง 4 ข้าง
ขนาดของควายป่าไทย ช่วงลำตัวและหัวยาว 2.4-2.8 เมตร หางยาว 0.6-0.85 เมตร ความสูงที่ไหล่ 1.6-1.9 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 800-1,200 กิโลกรัม ส่วนขนาดควายบ้าน ขนาดตัวเฉลี่ย 1.3-1.5 เมตร ความสูงเฉลี่ย 1.2-1.4 เมตร น้ำหนักตัวประมาณ 360-440 กิโลกรัม
การกระจายพันธ์
เขตการกระจายพันธุ์ของควายป่ามีอยู่แถบประเทศอินเดีย เมียนมาร์และกลุ่มประเทศอินโดจีน แต่ไม่กระจายลงมาทางแหลมมาลายู ประเทศไทยถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางการกระจายพันธุ์ของควายป่า อีกทั้งยังพบว่าควายป่าในประเทศไทยมีขนาดใหญ่กว่าควายป่าในแหล่งอื่น ๆ ปัจจุบันคาดว่ายังมีควายป่าแท้ ๆ หลงเหลืออยู่ในประเทศเนปาล รัฐอัสสัมและโอริสสาของอินเดีย
ในประเทศไทย แต่เดิมเคยมีควายป่าอยู่ตามป่าทุ้งโปร่งเกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นภาคใต้ แต่ปัจจุบันถูกล่าหมดไป ยังคงเหลืออยุ่เพียงแหล่งเดียวเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทยธานี ประมาณ 40 ตัว ( 2536 )
อุปนิสัยและการสืบพันธ์
พฤติกรรมความเป็นอยู่ทั่ว ๆ ไปของควายป่า ชอบอยู่รวมกันเป็นหมู่ที่มีตัวเมียและตัวผู้เล็ก ๆ ส่วนตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่มักชอบแยกตัวอยู่ตามลำพังเป็นควายโทน ลักษณะรูปแบบสังคมคล้ายกับพวกวัวป่า แหล่งทีอยู่สำคัญได้แก่ ป่าทุ่งหรือป่าโปร่งตามที่ลุ่มต่ำที่มีหนองบึงสำหรับลงแช่ปลัก ปกติไม่ชอบอยู่ตามป่าเขาสูง ๆ ที่หาปลักโคนได้ยาก หรือตามป่าดิบรกทืบ เพาะมีเขายาวใหญ่เกะกะไม่สะดวกในการบุกรุก สายตาไม่ดี แต่จมูกและหูมีความไวต่อประสาทสัมผัสดีมาก

ฤดูผสมพันธุ์ของควายป่า ส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงปลายฤดูฝน ต้นฤดูหนาว ประมาณเดือน ตุลาคม-พฤษจิกายน ในช่วงฤดูนี้ ปกติแล้วควายป่าตัวเมียจะมีระยะเป็นสัดประมาณ 20-21 วัน ต่อครั้ง ระยะตั้งท้องของควายป่าประมาณ 310 วัน ปกติออกลูกครั้งละ 1 ตัว ภายหลังจากออกลูกประมาณ 40 วัน แมควายป่าจะสามารถผสมพันธุ์ตั้งท้องได้ใหมิอีก แต่โดยทั่วไปแล้วแม่จะเลี้ยงดูลูกนานประมาณ 1 ปีครึ่ง โดยไม่ยอมผสมพันธุ์ใหม่อายุเฉลี่ยประมาณ 20-25 ปี
สาเหตุใกล้จะสูญพันธ์
สาเหตุที่ทำให้ควายป่าในธรรมชาติ ลดน้อยลงอย่างรวดเร็วจนสูญพันธุ์ไปแล้วในหลายถิ่นกำเนิดเดิม ได้แก่การล่าเพื่อเอาเนื้อ หนังและเขา เป็นอาหารและเครื่องประดับต่างๆ ทั้งนี้เนื่องมีนิสัยที่ๆไม่ค่อยกลัวหรือหลบคน และการแช่ปลักหรืออยู่ตามทุ่งโล่งที่เดิมเป็นประจำ จึงถูกล่าได้ง่าย อีกทั้งป่าโปร่งหรือป่าทุ่งส่วนใหญ่ถูกทำลายเป็นที่อยู่อาศัย และเป็นที่เกษตรกรรม ทำให้ควายป่ามีอยู่ถูกขับไล่กระจัดกระจายเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อย ไม่สามารถติดต่อกันได้ ซึ่งมีผลกระทบต่อการถ่ายทอยพันธุกรรมของสัตว์ที่อยู่เป็นฝูงอย่างยิ่ง นอกจากนี้การลูกรุกถิ่นที่อยู่ของควายผป่า อาจที่ให้ควายป่าผสมพันธุ์กับควายบ้านที่คนเอามาเลี้ยง ทำให้พันธุกรรมของควายป่าด้วยลง และอาจติดโรคระบาดจากควายบ้านได้ด้วย

แหล่งข้อมูลและภาพ..........www.geocities.com/thaisut/t/btaww.htm - 2k

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น